ได้ไปร่วมการประชุมเสนอความคืบหน้าการดำเนินงาน โครงการ “การประเมินความเสี่ยงนิเวศแหล่งน้ำในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง โดยใช้หอยสองฝาบริเวณชายฝั่งทะเลและทำแนวทางการแก้ไขและการป้องกันปนเปื้อนสารอันตรายในดินและน้ำใต้ดินแบบบูรณาการพร้อมกลไกสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษาการแพร่กระจายและการสะสมโลหะหนักและสารอินทรีย์กึ่งระเหย” จัดโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม นักวัจัยโครงการคือ ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ จากมหาวิทยาลัยเนรศวร ซึ่งเป็นนักศึกษารุ่นพี่ของหลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อม

จากการเข้าฟังได้รับความรู้มากมายเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงนิเวศน์ สถานะการณ์ของเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง และสารปนเปื่อน (โลหะหนัก) ในวงจรของหอยสองฝา ทำให้ทราบว่า สถานะการณ์สภาพแวดล้อมและการปนเปื่อนในพื้นที่ประมงพื้นบ้านตากวน -อ่าวประดู่ และคลองซากหมากค่อนข้างอันตรายในเชิงของโลหะหนักจำพวก Hg  และ Zn หากแต่สารดังกล่าวไม่อยู่ในสารปนเปื้อนต้องห้ามตามกฏหมายการส่งออก (ช่องทางการจำหน่ายหลัก) อีกทั้งอาจเพราะด้วยการได้รับการส่งเสริมในนโยบาย CSR จากบริษัทในนิคมฯมาบตาพุดด้วยหรือไม่ จึงยังคงมีการเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่ในบริเวณดังกล่าวต่อ ทั้ง ๆ ที่หากพิจารณาดูตามสภาพเชิงนิเวศน์แล้วจะเห็นได้ว่าไม่เหมาะต่อการทำประมงชายฝั่งด้วยประการทั้งปวง

9gahd5ag5fhh669gbi8i9

ในช่วงท้าย ที่ประชุมที่เปิดให้มีการซักถาม เสนอแนะและวิจารณ์โครงการฯ สิ่งที่น่าผิดหวังมากคือการทำหน้าที่ของประธานที่ไม่เข้าใจบทบาทของตัวเอง และพยายมลดบทบาทตัวเองให้เสมือน MC ของการประชุม เช่น

  • มีข้อเสนอจากตัวแทนของบริษัท Shell ว่าทางบริษัทสนใจงานวิจัยนี้และอยากให้ขยายไปยังสัตว์น้ำอื่น ๆ ประธานตอบกลับแบบขำ ๆ ว่า โครงการนี้วิจัยเฉพาะหอยแมลงภู่ ไม่ได้วิจัยหอยเชลล์
  • มีคำถามว่างานวัจัยนี้ทำในอ่าวไทย ก ไก่ หรือไม่ ประธานกลับผสมโรงถามที่ปรึกษาทราบหรือไม่ว่า อ่าวไทย ก ไก่ คืออะไร
  • เมื่อถูกถามว่างานวิจัยนี้เคยทีการทำมานานตั้งแต่ 25 ปีที่แล้วและทางกรมฯมีการต่อยอดหรือบูรณาการโครงการนี้กับงานเก่าหรือไม่หรือมีการนำผลหรือข้อเสนอแนะจากงานเก่ามาปฏิบัติหรือไม่ กลับหัวเราะและแซวผู้ถามว่างานเก่าแค่ 15 เองมั้ง
  • นึกสนุกด้วยการพูดติดตลกว่า หอยแมลงภู่ไทยอึดและทนพิษสารปนเปื้อนแต่ตัวเองรับประทานแต่หอยนิวซีแลนด์ จึงไม่ได้รับผลกระทบอะไร
  • ตอบท้ายด้วยข้อเสนอว่า การนำเสนอ มีข้อมูลมากเกินไป วิชาการมากเกินไป ควรทำให้เข้าใจง่ายหน่อย ก็ไม่ทราบว่า นักวิชาการวุฒิระดับ ดร. ทั้งหลายของกรมที่นั่งอยู่ในที่ประชุม ยังไม่มี bandwidth ในการรับและบริโภคข้อมูล ก็อย่าหวังว่าจะสามารถ carry on และ execute ข้อเสนอแนะโครงการไปยังเวทีอื่นได้

ในฐานะนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ค่อนข้างผิดหวังกับการบทบาทและการทำงานของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่ไมสามารถแสดงบทบาทในเชิงรุกต่อการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ดีเท่าที่ควร ความคิดเห็นดี ๆ มักโดนผู้บริหารหรือประธานใช้ความกลัวหรือความอะไรก็ไม่อาจทราบได้ กลบเกลื่อน เบี่ยงเบนประเด็นดี ๆ ให้จางหายไป อันจะส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อมั่นและความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งก็คงเป็นไปได้ยากเต็มที สุดท้ายผลงานที่ได้คือเอกสารบนหิ้งและงบประมาณที่ถูกใช้ไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

ในฐานะที่ปรึกษาองค์กร ด้วยการประชุมนี้เป็นการประชุมเชิงวิชาการ เน้นข้อมูล ตัวเลขและสถิติ การคำนวณทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เวทีสาธารณะที่ต้องมีมุขตลกมาแทรกเพื่อความน่าสนใจของการประชุม หากประธานอยากทำหน้าที่ MC ก็ไม่น่าจะมานั่งเป็นประธาน คงไม่ต้องบรรยายน่ะครับว่าประธานการประชุมที่ดีควรทำตัวอย่างไรเพราะถึงเขียนไป ก็คงยากที่ท่านจะเข้าใจและปรับปรุง

2013-10-24 09.55.58